วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2554

ผู้ที่ได้รับเลือกใด้เป็นผู้ปกครองตามทรรศนะของอริสโตเติล

คำตอบในข้อนี้ คือ ชนชั้นกลาง เพราะคนที่รวยมากๆและคนที่จนมากๆ ต่างก็ถูกชักนำโดยเหตุผลได้ยากว่าชนชั้นกลาง ซึ่งมีปัญหาน้อยที่สุดในเรื่องของความทะเยอทะยาน ชนชั้นกลางนี้ถูกกระทบกระเทือนโดยความอิจฉาน้อยกว่าคนที่เป็นทาส หรือถูกกระทบกระเทือนโดยความดูแคลนน้อยกว่าคนที่เป็นนาย พวกเขาจะถือว่าประชาชนด้วยกันและเป็นคนเหมืองกัน และดังนั้นจึงมีความสามารถที่จะมีมิตรภาพ[Philia]ได้ ข้อนี้สำคัญเพราะ ชุมชนขึ้นอยู่กับมิตรภาพ
            ดังนั้น ชนชั้นกลางขนาดใหญ่จึงเป็นสิ่งที่ต้องมีเสียก่อน สำหรับสังคมการเมืองที่ดีที่สุดหรือที่จะเป็นได้มากที่สุด ถ้าเป็นไปได้ชนชั้นกลางนี้ควรมีขนาดใหญ่กว่าอีกสองชนชั้นรวมกัน แต่ถ้าเป็นไม่ได้ก็ควรจะใหญ่กว่าแต่ละชนชั้นที่เหลือ เมื่อชนชั้นกลางขนาดใหญ่แล้วโอกาสที่จะมีกลุ่มเฉพาะก็น้อยลง และเพื่อที่เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงคุณค่าของชนชั้นกลาง
            อย่างไรก็ดี ความหมายของแบบอย่างอันดีเลิศที่เป็นไปได้นี้ก็มิได้ทำให้อริสโตเติลท้อแท้ เราอาจจะจัดรูปรัฐธรรมนูญในระดับต่างๆกัน จากที่มีส่วนดีน้อยไปหาที่ดีมาก โดยอาศัยฐานของคุณค่าที่แท้จริงได้ แม้แต่ในระดับของทฤษฏีสิ่งไม่สมบูรณ์เต็มที่ก็อาจมีคุณค่าเหมือนกัน เราสามารถเล็งเห็นการผันแปรในสถานการณ์เฉพาะที่มีความสำคัญกว่าข้อกำหนดที่เป็นทางการได้ รัฐธรรมนูญรูปหนึ่งอาจจะดีกว่าอย่างแท้จริง แต่ก็ไม่มีอะไรที่จะกั้นมิให้รัฐธรรมนูญอีกรูปหนึ่งมีความเหมาะสมกว่าในกรณีที่กำหนดให้ และอันที่จริงแล้วนี่ก็อาจจะเกิดขึ้นบ่อยๆ
        อริสโตเติล สนับสนุนการปกครองโดยชนชั้นกลาง เรียกว่า รัฐประชาธิปไตยปานกลาง คือ การผสมระหว่าง รัฐประชาธิปไตย กับ รัฐ คณาธิปไตย
        ต้องอาศัยดุลระหว่างหลักการประชาธิปไตยกับหลักการคณาธิปไตย รัฐเช่าว่านี้ คือ โพลิตี้หรือรัฐภายใต้รัฐธรรมนูญที่ไม่สมบูรณ์ ดังที่เราได้เห็นมาแล้วในที่นี้ อริสโตเติล ไม่ได้พะวงถึงอุดมการณ์ที่ไม่อาจบรรลุถึงได้ หากเป็นในเรื่องที่อาจคาดหมายได้ในทางปฏิบัติสำหรับคนสามัญ ซึ่งต้องรับสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ และทำให้ดีที่สุดกับสภาพแวดล้อมเหล่านี้
ไม่ว่าในสังคมใด มีพลังขับเคียวกันอยู่สองฝ่าย คือ ปริมาณกับคุณภาพ
- คุณภาพเป็นที่เข้าใจว่า หมายถึง ทรัพย์สมบัติ กำเนิด ฐานสังคม การศึกษา
- ปริมาณ เป็นที่เข้าใจว่า หมายถึง จำนวนอันเป็นสิทธิอ้างอิงของกลุ่มประชาชน
กล่าวคือ เป็นพลังฝ่ายประชาธิปไตย รัฐที่ถูกครอบงำโดยพลังฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอย่างสิ้นเชิงย่อมจะเป็นรัฐที่เลว ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มั่นคง และเห็นแก่ตัว พลังทั้งสองไม่อาจกำจัดหรือละเลยกันได้ ทางที่ดีที่สุดในทางปฏิบัติ คือ จะต้องให้แต่ละฝ่ายถ่วงดุลต่อกันเสีย เพื่อตัดทอดส่วนเลวที่สุดของแต่ละฝ่ายออก และจะได้เกิดเสถียรภาพอันควบคู่กันไปกับดุลยภาพ ในทางปฏิบัติ รัฐอาจบรรลุถึงเสถียรภาพนี้โดยให้อำนาจอยู่กับชนชั้นกลาง ซึ่งถ้าจำนวนมากพอ จะยังยั้งพลังบั่นทอน ทำลายคณาธิปไตยและประชาธิปไตยอย่างรุนแรง
      โพลิตี้ เป็นเครื่องแสดงถึงหลักสายกลางของความผ่อนปรน รัฐทุกรัฐมีคนรวย คนจน และชนชั้นกลาง ชนชั้นกลางประกอบเป็นสายกลางในโครงสร้างชนชั้น ชนชั้นนี้เป็นฐานรองรับอำนาจ คนรวยมีส่วนได้เปรียบมากเกินไปและไม่ยอมรับระเบียบวินัย ส่วนคนขนมีส่วนได้เปรียบน้อยเกินไปและขาดจิตใจ คนรวยรู้ว่าบัญชาอย่างไร ส่วนคนจนเข้าใจแต่จะเชื่อฟัง คนรวยพะวงคิดถึงแต่ทรัพย์สินและความละโมบในของผู้อื่น ก่อให้เกิดฝักฝ่ายแตกแยก ส่วนคนจนริษยาในทรัพย์สินของคนไม่กี่คน และรับฟังพวกนักพูดเขย่าอารมณ์ ซึ่งสัญญาจะให้มีการแบ่งสรรทรัพย์สมบัติกันใหม่ และนำคนจนไปสู่การปฏิวัติซึ่งผลที่สุดไม่ได้แก้ไขอะไรนอกจากการนำทรราชมาให้เท่านั้น ชนชั้นกลางเอนเอียงฟังเหตุผลมากกว่า ไปจนเกินไปถึงกับถูกกดให้ต่ำ แล้วก็ไม่รวยจนกลายเป็นฝักฝ่ายแตกแยก โดยที่ความสมบูรณ์พูนสุขของรัฐขึ้นอยู่กับจิตใจของประชาคมที่เป็นมิตร สิ่งเหล่านี้จึงเป็นเรื่องมีความสำคัญที่สุด ทั้งเพลโตและอริสโตเติลยอมรับว่าปัญหาเรื่องทรัพย์สินอาจเป็นทางบั่นทอนทำลายได้ คงจะจำได้ว่า ทางแก้ของเพลโต คือ ล้มเลิกทรัพย์สินส่วนตัวสำหรับชนชั้นปกครองเสีย อริสโตเติล กล่าวโดยสาระว่า ทรัพย์สินจะต้องแบ่งสรรอย่างเป็นธรรมพอ (และนี่เป้นความสำคัญแท้จริงของรัฐชนชั้นกลาง) เพื่อว่าโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์จะได้ลดน้อยลงไปได้มากทีเดียว
    โพลิตี้ ยังแดสงถึงหลักความคิดของอริสโตเติลในเรื่องรัฐหรือรัญธรรมนูญแบบผสม ลักษณะผสมเป็นการผสมผสานระหว่างคณาธิปไตยกับประชาธิปไตย กล่าวคือ โพลิตี้ไม่เพียงแต่จะถ่วงดุลเท่านั้น หากยังผสมผสานพลังเหล่านี้ด้วย อริสโตเติลไม่ถือว่าชนชั้นกลางจะยุ่งเกี่ยวกับการบริหาร หากถือว่า ชนชั้นนี้ประกอบด้วยชนที่สุขุมเยือกเย็นและอุตสาหะ ซึ่งพะวงอยู่กับการทำมาหาเลี้ยงชีพธรรมดาเบื้องแรก แต่ก็เป็นผู้ที่คอยเฝ้าดูผู้บริหารกิจการของรัฐอย่างระแวดระวัง อริสโตเติลยอมรับความจำเป้นของคุณสมบัติทรัพย์สินขั้นพอประมาณสำหรับการออกเสียงเพื่อจำกัดจำนวนคนที่ครองอำนาจ แม้ว่ากลุ่มผู้แทนจะเป็นผู้ใช้อำนาจก็ตาม โพลิตี้ หรือรัฐที่ดีที่สุดที่ปฏิบัติได้ของอริสโตเติลจึงเป็นรัฐภายใต้รัฐธรรมนูญผสม โดยอาศัยการถ่วงดุลพลังคณาธิปไตยและประชาธิปไตย และแสดงถึงสายกลางของส่วนประกอบที่ขัดแย้งในสังคม เป็นรัฐชนชั้นกลางซึ่งเสถียรภาพจะมีขึ้นตามสัดส่วนขนาดของชนชั้นนี้
      การที่อริสโตเติลเทียบระดับเสถียรภาพในรัฐเท่ากับชนชั้นกลางขนาดใหญ่ นั้นนับเป็นความคิดทางการเมืองที่ให้เข้าใจอย่างสุง ตลอดยุคสมัยต่างๆเป็นที่น่าเยใจสำหรับรัฐบาลต่างๆที่ปล่อยให้พลังเศรษฐกิจเป็นไปอย่างขาดดุลยภาพจนเหลือเกิน ประชาธิปไตยทางการเมืองไม่อาจดำรงอยู่ภายใต้การรวมทรัพย์สมบัติทางเศรษฐกิจอย่างใหญ่โต จนเสรีภาพที่เหลือสำหรับราษฎรมีค่าเท่ากับเสรีภาพอันคลุมเครือที่อดตาย ถ้าจะเสริมประเด็นต่อไปจากอริสโตเติลมุ่งถึง เรายังอาจกล่าวได้ว่า โครงสร้างประชาธิปไตยไม่ใช่เป็นสิ่งเดียวเท่านั้นที่ถูกคุกคามเช่นนั้น จอมเผด็จการที่สำเร็จผลยังได้เรียนรู้ด้วยว่า กำลังสนับสนุนของตนไม่อาจมอบให้อยู่กับขุนนางโจรผู้ละโมบเพียงไม่กี่คนได้อย่างปลอดภัย ในสมัยใหม่ ระบอบประชาธิปไตยใหญ่ๆเป็นประชาธิปไตยชนชั้นกลาง จอมฟาสซิสต์ คือ ฮิตเลอร์และมุสโสลินี แม้เขลาในหลายๆอย่าง แต่ทั้งสองก็เป็นนักการเมืองที่หลักแหลมพอที่จะจูงใจและสร้างฐานกำลังเผด็จการของตนให้อยู่กับชนกฎุมพี สหภาพโซเวียตซึ่งในทางทฤษฏีพยายามกำจัดทำลายกฎุมพี แต่ก็สร้างชนชั้นกลางของตนขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบด้วย นายทหาร ชนวิชาชีพ และข้ารัฐการ และด้วยเหตุนี้จึงสามารถเสริมสร้างโครงสร้าง ซึ่งหาไม่แล้วจำเป็นต้องอาศัยรากฐานส่วนใหญ่อยู่กับการใช้กำลังอันไม่แน่นอนเสถียรภาพในรัฐสืบเนื่องมาจากไมตรีของราษฎรกลุ่มใหม่ (และมีอิทธิพล) ซึ่งมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องในการดำเนินงานปกครอง และซึ่งมีฐานะดีพอที่จะปลอดพ้นจากคำจูงใจของคนที่ต้องการเปลี่ยนแปลง มันไม่จำเป็นต้องอาศัยอัจฉริยภาพที่จะสร้างรัฐเช่นว่านี้ คนเรามีใจนิยมสงวนรักษาพอที่จะยอมรับสภาพการณ์ยากแค้นอย่างหนักได้ ก่อนที่ต้องการให้เปลี่ยนแปลงฐานะที่เป็นอยู่ โดยทั่วไปความพะวงสนใจของรัฐบาลแบบสายกลาง อยู่ที่จำเป็นต้องก่อให้เกิดการสนับสนุนของชนชั้นกลาง บทเรียนยากแก่กี่เรียนรู้ดังที่ประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นเป็นอย่างดี แต่อริสโตเติลเข้าใจดีถึงหลักการ และก็ได้พูดถึงอย่างชัดเจน

วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554

รัฐตามทรรศนะของ "อริสโตเติล" มีวิวัฒนาการมาอย่างไร

           เพราะว่าเป็นสัตว์ใฝ่สังคม คนจึงก่อตั้งรัฐขึ้นมา แม้ไม้ได้คาดคิดถึงประโยชน์เกินไปว่าการที่ได้เข้ามีสัมพันธ์ต่อกัน แต่ประโยชน์อื่นๆมีอยู่ รัฐเป็นประชาคมซึ่งทำให้ชีวิตดีขึ้นและสมบูรณ์ขึ้นกว่าไม่มีรัฐ แม้ผลประโยชน์ทางวัตถุแต่ด้านเดียวจะมีมากและสำคัญ แต่ก็สำคัญน้อยว่าคุณประโยชน์ทางจิตใจ คนย่อมแสวงหาสิ่งดีเสมอ ข้อนี้คนย่อมขวนขวายเพื่อความยุติธรรมเพื่อความสมบูรณ์ทางจิตใจนั้นไม่มีปัญหา แม้ว่ายังห่างไกลจากจุดหมายปรายทางของตนอยู่ก็ตาม คนเป็นสัตว์ประเภทเดียวที่ได้รับความสามารถใช้เหตุผลและสื่อสารกันได้ ธรรมชาติไม่ใช่สิ่งอ่อนไหวเรรวน ธรรมชาติไม่ทำอะไรโดยปราศจากจุดมุ่งหมาย คนได้รับพรวิเศษเหล่านี้ทำให้สามารถคิดและแสดงออกในเรื่องอย่างเช่น ความยุติธรรมและความอยุติธรรม ความดีและความเลว แต่การมีความสามารถเหล่านี้แต่อย่างเดียวก็ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้คนสามารถแสวงหาจุดหมายของความยุติธรรมและความสมบูรณ์ทางจิตใจได้ ถ้าคนดำรงชีวิตอยู่โดดเดี่ยว และจำต้องทุ่มเทเวลาที่ตื่นทุกๆขณะเพื่อสนองความต้องการทางกายแล้วเขาก็จะขาดช่องทางความเจริญก้าวหน้า ทุกคนมีชีวิตแบบนี้ คือ สัตว์ป่าไม่แตกต่างอะไรมากนักจากสัตว์ประเภทต่ำต้อยที่สุด อันที่จริง ไม่มีชีวิตมนุษย์ที่แท้จริงอยู่ภายนอกรัฐ สายทางก้าวหน้าไปสู่การปรับปรุง หรือแม้ความสมบูรณ์ของมนุษย์จะมีขึ้นได้ก็ด้วยความช่วยเหลือของการจัดระเบียบองค์การ ทั้งสัญชาตญาณและเหตุผลประกอบกัน ทำให้คนสามารถสร้างเสริมระเบียบองค์การที่ซับซ้อนยิ่งๆขึ้นจากครอบครัวเป็นหมู่บ้าน และเป็นรัฐในที่สุด ในการต่อสู่เพื่อปรับปรุงตนเอง รัฐ หรือ โพลิส[Polis]เป็นระเบียบองค์การขั้นสูงสุดของประชาคม ซึ่งคนใช้เพื่อแสวงหาความสมบูรณ์ทางจิตใจ

            แม้รัฐจะเป็นระเบียบองค์การที่คนสร้างเพื่อประโยชน์ของตนเอง แต่รัฐก็ยังเป็นสถาบันธรรมชาติอีกด้วย รัฐเป็นเครื่องแสดงถึงขั้นสมบูรณ์ของความเป็นสถาบัน แต่รัฐเป็นสิ่งที่มาก่อนบุคคลและก่อนระเบียบองค์การ(ปลีกย่อย)อื่นๆทั้งหมด เพราะว่าถ้าอยู่ภายนอกรัฐแล้ว คนย่อมเป็นส่วนหนึ่งที่ขาดความหมาย เพื่อประโยชน์ในการอธิบายหลักปรัชญาข้อนี้ให้เป็นที่แจ่มกระจ่าง อริสโตเติล ยกข้อเปรียบเปรยกับเมล็ดพันธ์ดอกไม้ เมล็ดพันธ์เป็นเครื่องแสดงถึงธรรมชาติที่แท้จริงของพืชพันธ์ได้น้อยกว่าดอกไม้เมื่อยามบานเต็มที่ แต่กระนั้นเมล็ดพันธ์ก็มีอยู่ก่อนดอกไม้ ดังนั้น รัฐจึงเป็นธรรมชาติว่าบุคคล กว่าครอบครัวหรือหมู่บ้านซึ่งมีอยู่ก่อน รัฐเป็นเครื่องแสดงถึงจุดสูงสุดซึ่งคนในฐานะเป็นสัตว์สังคมได้บรรลุถุง ภายหลังที่มีวิวัฒนาการและประสบการณ์อันยาวนานมากับระเบียบองค์การในระดับย่อยกว่า รัฐเป็นแหล่งพำนักธรรมชาติ ซึ่งบุคคลบรรลุถึงในบั้นปลายของความมุ้งหน้าไปสู่ความสมบูรณ์ทางจิตใจ

            ทฤษฏีว่าด้วยวิวัฒนาการของอริสโตเติล ส่วนมากแบบฉบับกรีก อริสโตเติลเสนอทฤษฏีองค์อินทรีย์[Organic Theory]ของรัฐอย่างอ่อน คือ ทฤษฏีที่ถือว่าบุคคลเป็นส่วนหนึ่งของรัฐได้รับประโยชน์จากรัฐซึ่งให้ศักดิ์ศรีและฐานะแก่บุคคลในฐานะมนุษย์ รัฐไม่ใช่เป็นเพียงเครื่องมือเท่านั้น ถึงจะเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์อย่างสูง รัฐเป็นประชาคม รัฐต้องมีกฎข้อบังคับ มีกฎหมายเพื่อจัดการกับราษฎรของรัฐ แต่ประชาชนอยู่ร่วมกันด้วยพันธะของประชาคมและสมาชิกภาพอย่างแน่นแฟ้นยิ่งกว่ากฎหมาย ความสมบูรณ์ของทัศนะข้อนี้ เป็นที่เข้าใจและยอมรับในวงเขตอันสนิทชิดเชื้อของนครรัฐได้ง่ายว่าในนครรัฐสมัยใหม่ คติประชาธิปไตยใหม่ ยังคงนิยมรัฐที่ปล่อยให้บุคคลมีเสรีภาพมากๆแต่ระยะหลังๆนี้ บรรดานักคิดเสรีประชาธิปไตยพากันตระหนักมากขึ้นๆว่า การเน้นถึงปัจเจกนิยมนั้น มักเป็นผลให้มีการประพฤติผิดต่อประชาคมจากคนที่ขาดสำนึกชั่วดี ซึ่งอ้างปลีกตนพ้นความรับผิดชอบได้สำเร็จในนามเสรีภาพส่วนบุคคล จึงเป็นอีกวาระหนึ่งที่รัฐได้รับการยอมรับ อย่างน้อยในส่วนหนึ่งและในบางประเทศว่า เป็นรูประเบียบองค์การอันสูงกว่า ซึ่งจำเป็นต่อการปรับปรุงสำหรับบุคคลและประชาคมเช่นเดียวกัน และมุ่งมั่นเพื่อจุดหมายทั้งสองด้าน

จุดหมายปลายทางของรัฐตามทรรศนะของอริสโตเติล

          ในเล่มที่หนึ่งของ Politics อริสโตเติล แบ่งแยกระหว่างการรวมตัวกันทางการเมืองและการรวมกันแบบอื่นๆ ครัวเรือน Occonomia ซึ่งเราได้คำว่า เศรษฐศาสตร์[Economics]มานั้นเกี่ยวข้องด้วยแต่ เพียงชีวิตคือ การให้กำเนิดในทางชีววิทยา การยังชีพและการบำรุงรักษา สิ่งเหล่านี้ คือ การรวมกันในลักษณะนี้คนเราไม่แตกต่างอะไรจากสัตว์ จากการรวมกันแบบนี้ก่อให้เกิดหมู่บ้าน และอาณาจักรย่อยๆเพื่อป้องกันตนเองและมักมีกษัตริย์อยู่ในตำแหน่งของบิดาผู้ดูแลควบคุม ความจริงที่ว่ามนุษย์โดยทั่วไปปกครองโดยกษัตริย์ในสมัยโบราณ และการปกครองรูปนี้ก็ยังคงคงมีอยู่บ้างในปัจจุบันนี้ คือ เหตุผลที่ชักนำให้เราทั้งหมดกล่าวว่า เทพเจ้าก็ปกครองกันโดยกษัตริย์เหมือนกัน เราสร้างชีวิตของเทพเจ้าตามอย่างชีวิตของเรา เช่นเดียวกันกับที่เราสร้างรูปร่างลักษณะของเทพเจ้านั่นเองแต่เมื่อจำนวนหมู่บ้านที่รวมกันเข้าได้บรรลุถึง ขนาดแห่งความเพียงพอในตัวเองแล้วเราก็ได้นครรัฐซึ่งเป็น การรวมตัวขั้นสุดท้ายและสมบูรณ์แต่เป็นการจำเป็นที่จะต้องจำกัดข้อความนี้ทันที่ เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดอันเกิดจากการใช้คำว่า สมบูรณ์หรือเราอาจจะกล่าวได้ว่า ในขณะที่นครรัฐเติบโต(เกิดขึ้นมา)เพื่อเพียงแต่ชีวิตก็จริง แต่ทว่ามันคงอยู่เพื่อชีวิตที่ดี
            เพราะว่านครรัฐเป็นจุดสมบูรณ์ของการรวมกันซึ่งคงอยู่โดยธรรมชาติ นครรัฐทุกนครจึงมีอยู่โดยธรรมชาติ และมีคุณลักษณะอย่างเดียวกับการรวมตัวกันแบอื่นๆซึ่งมันเติบโตขึ้นมา มัน คือ จุดหมายปลายทาง[Telos]หรือจุดสุดยอดซึ่งการรวมตัวกันต่างๆเหล่านี้มุ่งไปสู่ และธรรมชาติของสิ่งต่างๆก็อยู่ที่จุดหมายปลายทาง หรือจุดสุดยอดของนครรัฐนั่นเอง เพราะสิ่งซึ่งแต่ละอย่างเป็นเมื่อการเจริญเติบโตของมันถึงจุดสมบูรณ์นั้น เราเรียกว่า นั่นคือ ธรรมชาติของสิ่งนั้นไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ หรือม้า หรือครอบครัว นั่นก็คือจุดหมายปลายทางหรือมูลเหตุสุดท้าย คือ สิ่งที่ดีที่สุด
            จากข้อพิจารณาเหล่านี้เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า นครรัฐจัดอยู่ในชนิดของสิ่งซึ่งมีอยู่โดยธรรมชาติ และมนุษย์เรานั้นโดยธรรมชาติแล้วเป็นสัตว์ซึ่งต้องอยู่ในรัฐ
*      ขนาดเป็นแบบนครรัฐ[City State]ไม่ควรกว้างใหญ่เกินไป เพราะถ้าใหญ่จนเกินไปจะกลายเป็นอาณาจักร ทำให้เป็นอุปสรรคแก่การปกครองและการบังคับกฎหมาย ถ้าเล็กจนเกินไปจะทำให้ขาดความอุดมสมบูรณ์ทางเศรษฐกิจ
*      รัฐต้องพยายามเสริมสร้างชีวิตที่ดีให้กับคนในสังคมได้ นั่นหมายความว่าสร้างความสุขหรือความดีร่วมกัน อันจะก่อให้เกิดความยุติธรรมขึ้นในสังคมนั่นเองการที่คนจะมีความสุขได้นั้น จะต้องประกอบด้วยสิ่งดี 3 ประการ
*      สิ่งดีภายนอก
*      สิ่งดีแห่งร่างกาย
*      สิ่งดีแห่งจิตใจ
ท้ายสุด รัฐมีจุดหมายปลายทาง คือ เพื่อการมีชีวิตที่ดีของมนุษย์

รัฐที่ดีที่สุดตามทรรศนะของอริสโตเติล

*      ขนาดเป็นแบบนครรัฐ[City State]ไม่ควรกว้างใหญ่เกินไป เพราะถ้าใหญ่จนเกินไปจะกลายเป็นอาณาจักร ทำให้เป็นอุปสรรคแก่การปกครองและการบังคับกฎหมาย ถ้าเล็กจนเกินไปจะทำให้ขาดความอุดมสมบูรณ์ทางเศรษฐกิจ
*      รัฐต้องพยายามเสริมสร้างชีวิตที่ดีให้กับคนในสังคมได้ นั่นหมายความว่าสร้างความสุขหรือความดีร่วมกัน อันจะก่อให้เกิดความยุติธรรมขึ้นในสังคมนั่นเองการที่คนจะมีความสุขได้นั้น จะต้องประกอบด้วยสิ่งดี 3 ประการ
*      สิ่งดีภายนอก
*      สิ่งดีแห่งร่างกาย
*      สิ่งดีแห่งจิตใจ
แนวพิจารณาอริสโตเติลเกี่ยวกับรัฐสมบูรณ์แบบ ต่างจากการศึกษาของเพลโตใน อุตมรัฐเพราะว่าเชื่อว่าอุดมการณ์ไม่อาจบรรลุถึงได้ อริสโตเติลจึงดูสนใจกับอุดมการณ์ของรัฐที่ดีมากกว่าที่จะคิดวางแบบโครงสร้างอันสมบูรณ์ ซึ่งนึกฝันเอาแต่ปฏิบัติไม่ได้ เพราะฉะนั้นงานของอริสโตเติลจึงเกี่ยวกับรัฐศาสตร์ทั่วไปในขอบเขตที่กว้างใหญ่ว่าเพลโต
ความใฝ่ฝันของรัฐตามความใฝ่ฝันของราษฎร เพราะฉะนั้นรูปของรัฐธรรมนูญในอุดมคติจะต้องแสดงถึงชีวิตที่ดี ปัจจัยประกอบของชีวิตที่ดีมีอยู่สามประการ คือ
*      สิ่งดีภายนอก
*      สิ่งดีของร่างกาย
*      สิ่งดีของจิตใจ
บุคคลที่สุขสมบูรณ์และมั่นคงต้องการทั้งสามอย่างนี้ แต่ต้องคำนึงถึงปัญหาลำดับก่อนหลังและความสำคัญสัมพันธ์ต่อกันให้เหมาะสม ความใส่ใจมากจนเกินไปกับสิ่งดีภายนอกซึ่งอริสโตเติล หมายถึง สิ่งของวัตถุนั้น ทำให้จิตใจผันแปรไป ผลทำนองเดียวกันอาจกล่าวได้สำหรับกรณีของ สิ่งดีของร่างกายหรือความพะวงอยู่กับสภาพร่างกาย สิ่งดีของจิตใจเป็นเรื่องสำคัญอันแท้จริงประกอบเป็นจุดหมายปรายทางของเรื่องมนุษย์ ส่วนสิ่งอื่นทั้งหมดจะเป็นประโยชน์หรือไม่นั้นสุดแต่มีส่วนส่งเสริมจุดหมายปรายทางนี้หรือไม่ รัฐธรรมนูญทั้งหลายอาจวินิจฉัยโดยอาศัยมาตรฐานนี้ รัฐที่ดีกำหนดวางลำดับก่อนหลัง เพื่อปลูกหลักธรรมในหมู่ราษฎรของตนแต่ให้สิ่งของวัตถุอยู่ภายใต้จุดหมายปรายทางนี้ รัฐที่ดีจะไม่ระรานหรือเป็นจักรวรรดินิยมเลย แต่สนใจแต่เพียงในเรื่องสันติภาพและการแก้ไขปรับปรุงภายใน แม้ว่าจะคงมีกำลังทหารอย่างเดียวเพียงพอเพื่อป้องกัน แต่รัฐจะไม่ใช้อำนาจทำร้ายเพื่อนบ้านของตน
มีขนาดสูงสุดสำหรับรัฐสมบูรณ์แบบ ความใหญ่ในตนเองไม่อาจวัดได้กับความดี หากคุณธรรมพึงกำหนดด้วยข้อที่ว่า รัฐปฏิบัติของตนและบรรลุถึงจุดหมายอย่างไร รัฐที่ใหญ่เกินไปจะพบว่ายากแก่การใช้บังคับกฎหมายและรัฐที่ดีจะต้องมีระเบียบอย่างดี ถ้าเล็กเกินไป รัฐจะขาดคุณธรรมในฐานะพอเลี้ยงตัวเองได้ อริสโตเติลคิดโตยเฉพาะในแง่ของรูปนครรัฐ ดังจะเห็นได้จากข้อยืนยันของอริสโตเติลว่าหน้าที่พลเมืองอาจปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมก็ต่อเมื่อ   ราษฎรรู้จักกันเป็นการส่วนตัว ในแง่ของดินแดนก็เช่นกัน หลักสายกลางจะต้องมีไว้ รัฐควรมีขนาดใหญ่พอที่จะปล่อยให้ราษฎรเลี้ยงชีพจากงานการของตน และได้มีเวลาว่างพอเพียงที่จะคิดอ่านและปฏิบัติหน้าที่ฐานะราษฎร แต่รัฐก็ไม่ควรใหญ่และร่ำรวยไปมากกว่านั้น เวลาว่างในความหมายเพื่อเสริมสร้างตามคติกรีกเป็นจุดหมายหรือไม่ใช่ความฟุ่มเฟือย
ในด้านตำแหน่งที่ตั้ง จะต้องคำนึงถึงข้อได้เปรียบทั้งในทางหารและพาณิชย์ รัฐจะต้องตั้งอยู่ในชัยภูมิที่อำนวยต่อการป้องกัน และเพื่อจุดประสงค์ด้านการเดินเรือและการค้าขายจะต้องมีทางออกทางทะเล แต่จำเป็นต้องมีข้อพึงระมัดระวังในเรื่องนี้ เป็นไปได้ที่รัฐจะกลับไปสนใจให้ความสำคัญอยู่กับอำนาจทางเรือและทรัพย์สมบัติที่หลั่งไหลมาจากการพาณิชย์ทางทะเลกำลังเดินเรือจะต้องเหมาะสมสำหรับการป้องกัน แต่เจ้าหน้าที่ทางเรือจะต้องอยู่นอกสังคมการเมือง หาไม่แล้วจำนวนคนเหล่านี้ (อริสโตเติล หมายถึง คนฝีพายจำนวนมากที่ใช้ประจำเรือสมัยนั้น) จะทำให้สามารถมีอำนาจเหนือกลุ่มราษฎรได้ ในแง่การพาณิชย์ รัฐควรซื่อสิ่งที่จำเป็นและขายสิ่งเหลือใช้ออกไป แต่ก็ไม่ควรตั้งตนเป็นนายหน้าหรือพ่อค้าดินเรือให้กับรัฐอื่นๆและมุ่งจุดหมายควรเป็นเพื่อเลี้ยงตัวเอง ไม่ใช่เพื่อผลกำไร

มีงานหน้าที่ 6 อย่างที่จะต้องปฏิบัติในรัฐ คือ
*      เกษตรกรรม
*      ศิลปกรรมและงานฝีมือ
*      การป้องกัน
*      กรรมสิทธิ์ที่ดิน
*      ศาสนา
*      การปกครอง
โดยทั่วไปมีคนสองประเภทอยู่ในรัฐ คือ
*      ราษฎรที่สมบูรณ์
*      คนที่มีหน้าที่ปฏิบัติงาน
ซึ่งทำให้ราษฎรเป็นอิสระที่จะแสวงและได้ดำรงชีวิตที่ดี ปัญหาจึงเกิดมีว่า งานหน้าที่ดังกล่าวจะแบ่งสรรกันให้เหมาะสมอย่างไร หน้าที่ด้านเกษตรกรรม ศิลปกรรมและการช่าง เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและกำลังพยายามมากเกินไปสำหรับราษฎร ซึ่งถ้าต้องปฏิบัติหน้าที่แล้ว ก็ไม่สามารถทุ่งเทเวลาได้เพียงพอให้กับหน้าที่สูงกว่า การทำไร่ งานช่างและการพาณิชย์ จะต้องเป็นงานของชนชั้นที่แยกต่างหากและต่ำกว่า หน้าที่ 3 อย่างที่สูงกว่า คือ
*      การป้องกัน
*      ศาสนา                จะต้องปฏิบัติโดยราษฎร
*      รัฐกิจ
แต่ไม่ใช่โดยราษฎรพวกเดียวกันทั้ง 3 หน้าที่ เพราะคนไม่ทั้งหมดที่สามารถทำหน้าแต่ละอย่างได้ดี ทางที่ดีที่สุด คือ จัดให้หน้าที่ป้องกันอยู่กับราษฎรในวัยฉกรรจ์กว่า ให้หน้าที่ปกครองอยู่กับราษฎรวัยกลางคน และหน้าที่ศาสนาอยู่กับราษฎรวัยชรา ด้วยวิธีนี้ ราษฎรแต่ละคนจะปฏิบัติหน้าที่ทุกอย่างหมดแต่เฉพาะเพียงชั่วระยะนั้นๆในชีวิตของคน ขณะเมื่อมีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดสำหรับทำหน้าที่ของตนจากการศึกษาอบรมและอารมณ์นึกคิด
            งานบริการเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นเรื่องที่ราษฎรทั้งหมดมีส่วนร่วม หากเป็นการจัดระเบียบที่ซับซ้อนขึ้น อริสโตเติลเสนอว่า ที่ดินบางแห่งจะต้องเป็นของกลางเพียงพอที่จะให้ผลผลิตสำหรับให้มีระบบเลี้ยงร่วมกันในหมู่ราษฎร และส่งเสริมสถาบันประกอบศาสนกิจสาธารณะ ระบบนี้จะช่วยสร้างความกลมกลืนและเอกภาพระดับหนึ่งในรัฐ ที่ดินนอกนั้นจะเป้นของส่วนตัว เจ้าของแต่ละคนจะครองที่ดิน 2 แปลง       
*      แปลงหนึ่งใกล้เมือง
*      และอีกแปลงหนึ่งอยู่ในท้องที่ชายแดน
จุดประสงค์จองการจุดการแบบนี้ก็เพื่อก่อให้เกิดจุดมุ้งหมายร่วมกันในกรณีเกิดสงครามชายแดน ด้วยการจัดให้ราษฎรเสี่ยงเท่าๆกัน อีกอย่างหนึ่งได้แก่รัฐซึ่งราษฎรถือครองที่ดิน แต่ทาสหรอบ่าวเป็นผู้ทำงานจริงๆ
อีกครั้งหนึ่ง รัฐที่ดีที่สุด ได้แก่ รัฐซึ่งสามารถมากที่สุดที่จะช่วยส่งเสริมให้ราษฎรของตนบรรลุถึงชีวิตที่ดี มีสามทางที่ราษฎรอาจได้มาซึ่งความดีเช่นว่านั้น คือ
*      สมบัติโดยธรรมชาติ
*      อุปนิสัยอันเหมาะสม
*      หลักการอันอุดมเหตุผล หรือความสามารถใช้เหตุผล
อันแรก คือ สมบัติโดยธรรมชาตินั้น ในส่วนสำคัญแม้จะไม่ทั้งหมดทีเดียวเป็นเรื่องอยู่นอกเหนือการควบคุมของรัฐ คนเกิดมาพร้อมด้วยความสามารถบางอย่าง ซึ่งโดยทั่วไปรัฐไม่อาจเพิ่มเติมขึ้นได้
แต่ส่วนอีกสองทาง คือ อุปนิสัยอันเหมาะสมและความสามารถใช้เหตุผล อันมีส่วนกระทบและปรับปรุงได้ด้วยการศึกษา หน้าที่สำคัญที่สุดของนักนิติบัญญัติอยู่ที่จะปรับปรุงคุณภาพเหล่านี้แก่ราษฎร เพื่อส่งเสริมให้แต่ละคนมีทางอันอำนวยได้มากที่สุดที่จะบรรลุถึงชีวิตที่ดีได้ ถึงจุดนี้ ความคิดของอริสโตเติลเกี่ยวกับแผนการรัฐสมบูรณ์แบบก็แปรรูปโฉมเป็นบทเขียนว่าด้วยการศึกษาเป็นสาระสำคัญรัฐที่ดีย่อมให้การศึกษาเพื่อบรรลุถึงความดี ปัญหาใหญ่จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับลักษณะของระบบการศึกษาที่ควรจัดขึ้น อริสโตเติลไม่ได้วางรูปโครงระบบการศึกษาอันเหมาะสมของตนอย่างบริบูรณ์หากมีลักษณะบางอย่างที่ชวนคิด


วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฏีการเมือง ลักษณะวิทยาศาสตร์

  เป็นการนำหลักการของวิธีการแสวงหาความรู้/การแสวงหาความจริงของวิทยาศาสตร์เพื่อมาอธิบายทฤษฏีการเมือง  ดังนั้น ทฤษฏีการเมืองมีลักษณะวิทยาศาสตร์ คือ การนำวิธีการของวิทยาศาสตร์มาอธิบายทฤษฏีการเมือง พร้อมที่จะสามารถพิสูจน์ตามข้อเท็จจริงที่วิทยาศาสตร์ได้วางหลักเกณฑ์ไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับ สาระ คำอธิบาย และความหมายโดยทั่วไป ทฤษฏีการเมืองจะต้องเป็นผลที่ได้มาจาการศึกษาค้นคว้าและต้องสามารถที่จะพิสูจน์ไห้ได้ว่าเป็นความจริงที่ยอมรับกันได้


ทฤษฏีการเมือง   มีลักษณะ 3 ประการ คือ
1.ข้อเท็จจริง  ข้อมูลที่ได้รับมาจากการศึกษา รวบรวม ความเป็นจริง
2.หลักทั่วไป  ซึ่งได้มาจากการวิเคราะห์ข้อมูลและทดสอบข้อมูลเหล่านั้นจากสภาพที่เป็นจริงในสังคม
3.คุณค่า   ประโยชน์ที่พึงจะเกิดขึ้นได้และน่าที่จะเป็นเหตุเพียงพอที่จะใช้เป็นแนวปฏิบัติ

การนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการศึกษานั้น นักรัฐศาสตร์ในกลุ่มนี้ได้พยายามที่จะพัฒนาทฤษฏีเชิงประจักษ์ [Empirical Theory] ซึ่งเป็นคำอธิบายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆในลักษณะที่เป็นการวางนัยโดยทั่วไป [Generalization]เพื่อให้สามารถบรรยาย อธิบาย และทำนายปรากฏการณ์ทางการเมืองได้อย่างกว้างขวาง


1.เป็นระบบ [Systematization]
 การศึกษารัฐศาสตร์จะต้องมีความเป็นระบบทั้งกระบวนการ วิธีการ และข้อค้นพบ เพื่อให้ทฤษฏีและความเป็นจริงมีความผสมกลมกลืน สอดคล้องกันอย่างเป็นระเบียบ[Wall Organization]
2.มีกฎเกณฑ์ [Regularities]
 ในการศึกษาต้องถือว่าพฤติกรรมทางการเมืองที่ศึกษาทั้งหลายมีกฎเกณฑ์ของความสัมพันธ์ในโครงสร้างของตัวมันเองอย่างเป็นระเบียบแบบแผนและมีรูปแบบของตนเองซึ่งสามารถค้นพบได้ ในการศึกษาจึงต้องศึกษาถึงรูปแบบและกฎเกณฑ์พฤติกรรมการเมืองดังกล่าวเพื่อให้ได้ข้อสรุปโดยทั่วไปที่มีความเป็นทฤษฏีเพียงพอในการบรรยาย อธิบาย และทำนายพฤติกรรมทางการเมืองอื่นๆที่เกี่ยวข้องและตามมา
3.มีเทคนิค [Techniques]


ในการศึกษาวิธีการที่ใช้ต้องมีโครงสร้างของกระบวนการ ขั้นตอนวิธีการที่ชั้นเจน ทั้งในด้านการแจกแจง อธิบายตัวแปร การออกแบบวิธีการศึกษา ตลอดจนการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อผลในการศึกษาซ้ำ หรือตรวจสอบข้อสรุปทั่วไปที่น่าสงสัยหรือเห็นว่า
4.ตรวจสอบได้ [Verification]
ข้อค้นพบจากการศึกษาต้องมีการบันทึกเป็นข้อสรุปทั่วไปเพื่อที่จะสามารถตรวจสอบความถูกต้องหรือตรวจสอบซ้ำได้
5.ใช้วิธีการเชิงปริมาณ [Quantification]
ต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลในสภาพความเป็นจริง มีมาตรฐานและกฎเกณฑ์ในการแปลความหมายของข้อมูลอย่างเป็นปรนัย และแม่นตรง การใช้วิธีการเชิงปริมาณจะช่วยให้ได้ข้อมูลที่เป็นปรนัย และแม่นตรง โดยปราศจากความอำเอียงของผู้เก็บรวบรวมข้อมูลเข้าไปเกี่ยวข้อง อีกทั้งยังสามารถตรวจสอบความแม่นตรงและความเป็นปรนัยของข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ และยังเป็นประโยชน์ในการจัดกระทำกับข้อมูลดังกล่าวด้วยวิธีการทางสถิติทำไห้ข้อค้นพบและแปลความหมายเป็นไปตามสภาพความเป็นจริงสำหรับนักวิเคราะห์ทุกคน
6.ปลอดจากค่านิยม [Value-Free]
การศึกษารัฐศาสตร์โดยทั่วไป ปทัสถานและค่านิยมทางสังคมจะถูกนำมาใช้ในการอธิบายพฤติกรรมของบุคคลและกลุ่มบุคคล ซึ่งบางครั้งอาจทำให้ค่านิยมเป็นตัวชี้นำความคิดของผู้ศึกษาวิเคราะห์ว่าควรเป็นเช่นไรตามที่ค่านิยมของสังคมขณะนั้นเป็นอยู่ การศึกษารัฐศาสตร์โดยวิธีการวิทยาศาสตร์จะต้องเป็นไปตามข้อมูลประจักษ์ที่ได้รับในขณะนั้น แม้ว่าจะไม่สอดคล้องกับค่านิยมของสังคม อย่างไรก็ตามการปลอดจากค่านิยมนี้มิได้หมายความว่าห้ามนักรัฐศาสตร์ทำการศึกษาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับค่านิยมหรือจริยธรรม แต่หมายถึงการแปลความหมายของข้อมูล และข้อค้นพบบนรากฐานของความเป็นจริงของข้อมูลมากกว่าการปล่อยให้ค่านินมและจริยธรรมชี้นำความคิด
7.มุ่งความเป็นศาสตร์บริสุทธิ์ [Pure Science]
การศึกษารัฐศาสตร์จะต้องมีเป้าหมายสำคัญในการหาความรู้ที่ถูกต้องทั้งที่เป็นความเชื่อเดิมและความเชื่อใหม่ก่อนที่จะหวังผลในการนำความรู้ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาของสังคม
8.บูรณาการ[Integration]
การศึกษารัฐศาสตร์จะต้องมีลักษณะผสมผสานศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่ศึกษาให้มีลักษณะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน