วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2554

ผู้ที่ได้รับเลือกใด้เป็นผู้ปกครองตามทรรศนะของอริสโตเติล

คำตอบในข้อนี้ คือ ชนชั้นกลาง เพราะคนที่รวยมากๆและคนที่จนมากๆ ต่างก็ถูกชักนำโดยเหตุผลได้ยากว่าชนชั้นกลาง ซึ่งมีปัญหาน้อยที่สุดในเรื่องของความทะเยอทะยาน ชนชั้นกลางนี้ถูกกระทบกระเทือนโดยความอิจฉาน้อยกว่าคนที่เป็นทาส หรือถูกกระทบกระเทือนโดยความดูแคลนน้อยกว่าคนที่เป็นนาย พวกเขาจะถือว่าประชาชนด้วยกันและเป็นคนเหมืองกัน และดังนั้นจึงมีความสามารถที่จะมีมิตรภาพ[Philia]ได้ ข้อนี้สำคัญเพราะ ชุมชนขึ้นอยู่กับมิตรภาพ
            ดังนั้น ชนชั้นกลางขนาดใหญ่จึงเป็นสิ่งที่ต้องมีเสียก่อน สำหรับสังคมการเมืองที่ดีที่สุดหรือที่จะเป็นได้มากที่สุด ถ้าเป็นไปได้ชนชั้นกลางนี้ควรมีขนาดใหญ่กว่าอีกสองชนชั้นรวมกัน แต่ถ้าเป็นไม่ได้ก็ควรจะใหญ่กว่าแต่ละชนชั้นที่เหลือ เมื่อชนชั้นกลางขนาดใหญ่แล้วโอกาสที่จะมีกลุ่มเฉพาะก็น้อยลง และเพื่อที่เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงคุณค่าของชนชั้นกลาง
            อย่างไรก็ดี ความหมายของแบบอย่างอันดีเลิศที่เป็นไปได้นี้ก็มิได้ทำให้อริสโตเติลท้อแท้ เราอาจจะจัดรูปรัฐธรรมนูญในระดับต่างๆกัน จากที่มีส่วนดีน้อยไปหาที่ดีมาก โดยอาศัยฐานของคุณค่าที่แท้จริงได้ แม้แต่ในระดับของทฤษฏีสิ่งไม่สมบูรณ์เต็มที่ก็อาจมีคุณค่าเหมือนกัน เราสามารถเล็งเห็นการผันแปรในสถานการณ์เฉพาะที่มีความสำคัญกว่าข้อกำหนดที่เป็นทางการได้ รัฐธรรมนูญรูปหนึ่งอาจจะดีกว่าอย่างแท้จริง แต่ก็ไม่มีอะไรที่จะกั้นมิให้รัฐธรรมนูญอีกรูปหนึ่งมีความเหมาะสมกว่าในกรณีที่กำหนดให้ และอันที่จริงแล้วนี่ก็อาจจะเกิดขึ้นบ่อยๆ
        อริสโตเติล สนับสนุนการปกครองโดยชนชั้นกลาง เรียกว่า รัฐประชาธิปไตยปานกลาง คือ การผสมระหว่าง รัฐประชาธิปไตย กับ รัฐ คณาธิปไตย
        ต้องอาศัยดุลระหว่างหลักการประชาธิปไตยกับหลักการคณาธิปไตย รัฐเช่าว่านี้ คือ โพลิตี้หรือรัฐภายใต้รัฐธรรมนูญที่ไม่สมบูรณ์ ดังที่เราได้เห็นมาแล้วในที่นี้ อริสโตเติล ไม่ได้พะวงถึงอุดมการณ์ที่ไม่อาจบรรลุถึงได้ หากเป็นในเรื่องที่อาจคาดหมายได้ในทางปฏิบัติสำหรับคนสามัญ ซึ่งต้องรับสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ และทำให้ดีที่สุดกับสภาพแวดล้อมเหล่านี้
ไม่ว่าในสังคมใด มีพลังขับเคียวกันอยู่สองฝ่าย คือ ปริมาณกับคุณภาพ
- คุณภาพเป็นที่เข้าใจว่า หมายถึง ทรัพย์สมบัติ กำเนิด ฐานสังคม การศึกษา
- ปริมาณ เป็นที่เข้าใจว่า หมายถึง จำนวนอันเป็นสิทธิอ้างอิงของกลุ่มประชาชน
กล่าวคือ เป็นพลังฝ่ายประชาธิปไตย รัฐที่ถูกครอบงำโดยพลังฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอย่างสิ้นเชิงย่อมจะเป็นรัฐที่เลว ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มั่นคง และเห็นแก่ตัว พลังทั้งสองไม่อาจกำจัดหรือละเลยกันได้ ทางที่ดีที่สุดในทางปฏิบัติ คือ จะต้องให้แต่ละฝ่ายถ่วงดุลต่อกันเสีย เพื่อตัดทอดส่วนเลวที่สุดของแต่ละฝ่ายออก และจะได้เกิดเสถียรภาพอันควบคู่กันไปกับดุลยภาพ ในทางปฏิบัติ รัฐอาจบรรลุถึงเสถียรภาพนี้โดยให้อำนาจอยู่กับชนชั้นกลาง ซึ่งถ้าจำนวนมากพอ จะยังยั้งพลังบั่นทอน ทำลายคณาธิปไตยและประชาธิปไตยอย่างรุนแรง
      โพลิตี้ เป็นเครื่องแสดงถึงหลักสายกลางของความผ่อนปรน รัฐทุกรัฐมีคนรวย คนจน และชนชั้นกลาง ชนชั้นกลางประกอบเป็นสายกลางในโครงสร้างชนชั้น ชนชั้นนี้เป็นฐานรองรับอำนาจ คนรวยมีส่วนได้เปรียบมากเกินไปและไม่ยอมรับระเบียบวินัย ส่วนคนขนมีส่วนได้เปรียบน้อยเกินไปและขาดจิตใจ คนรวยรู้ว่าบัญชาอย่างไร ส่วนคนจนเข้าใจแต่จะเชื่อฟัง คนรวยพะวงคิดถึงแต่ทรัพย์สินและความละโมบในของผู้อื่น ก่อให้เกิดฝักฝ่ายแตกแยก ส่วนคนจนริษยาในทรัพย์สินของคนไม่กี่คน และรับฟังพวกนักพูดเขย่าอารมณ์ ซึ่งสัญญาจะให้มีการแบ่งสรรทรัพย์สมบัติกันใหม่ และนำคนจนไปสู่การปฏิวัติซึ่งผลที่สุดไม่ได้แก้ไขอะไรนอกจากการนำทรราชมาให้เท่านั้น ชนชั้นกลางเอนเอียงฟังเหตุผลมากกว่า ไปจนเกินไปถึงกับถูกกดให้ต่ำ แล้วก็ไม่รวยจนกลายเป็นฝักฝ่ายแตกแยก โดยที่ความสมบูรณ์พูนสุขของรัฐขึ้นอยู่กับจิตใจของประชาคมที่เป็นมิตร สิ่งเหล่านี้จึงเป็นเรื่องมีความสำคัญที่สุด ทั้งเพลโตและอริสโตเติลยอมรับว่าปัญหาเรื่องทรัพย์สินอาจเป็นทางบั่นทอนทำลายได้ คงจะจำได้ว่า ทางแก้ของเพลโต คือ ล้มเลิกทรัพย์สินส่วนตัวสำหรับชนชั้นปกครองเสีย อริสโตเติล กล่าวโดยสาระว่า ทรัพย์สินจะต้องแบ่งสรรอย่างเป็นธรรมพอ (และนี่เป้นความสำคัญแท้จริงของรัฐชนชั้นกลาง) เพื่อว่าโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์จะได้ลดน้อยลงไปได้มากทีเดียว
    โพลิตี้ ยังแดสงถึงหลักความคิดของอริสโตเติลในเรื่องรัฐหรือรัญธรรมนูญแบบผสม ลักษณะผสมเป็นการผสมผสานระหว่างคณาธิปไตยกับประชาธิปไตย กล่าวคือ โพลิตี้ไม่เพียงแต่จะถ่วงดุลเท่านั้น หากยังผสมผสานพลังเหล่านี้ด้วย อริสโตเติลไม่ถือว่าชนชั้นกลางจะยุ่งเกี่ยวกับการบริหาร หากถือว่า ชนชั้นนี้ประกอบด้วยชนที่สุขุมเยือกเย็นและอุตสาหะ ซึ่งพะวงอยู่กับการทำมาหาเลี้ยงชีพธรรมดาเบื้องแรก แต่ก็เป็นผู้ที่คอยเฝ้าดูผู้บริหารกิจการของรัฐอย่างระแวดระวัง อริสโตเติลยอมรับความจำเป้นของคุณสมบัติทรัพย์สินขั้นพอประมาณสำหรับการออกเสียงเพื่อจำกัดจำนวนคนที่ครองอำนาจ แม้ว่ากลุ่มผู้แทนจะเป็นผู้ใช้อำนาจก็ตาม โพลิตี้ หรือรัฐที่ดีที่สุดที่ปฏิบัติได้ของอริสโตเติลจึงเป็นรัฐภายใต้รัฐธรรมนูญผสม โดยอาศัยการถ่วงดุลพลังคณาธิปไตยและประชาธิปไตย และแสดงถึงสายกลางของส่วนประกอบที่ขัดแย้งในสังคม เป็นรัฐชนชั้นกลางซึ่งเสถียรภาพจะมีขึ้นตามสัดส่วนขนาดของชนชั้นนี้
      การที่อริสโตเติลเทียบระดับเสถียรภาพในรัฐเท่ากับชนชั้นกลางขนาดใหญ่ นั้นนับเป็นความคิดทางการเมืองที่ให้เข้าใจอย่างสุง ตลอดยุคสมัยต่างๆเป็นที่น่าเยใจสำหรับรัฐบาลต่างๆที่ปล่อยให้พลังเศรษฐกิจเป็นไปอย่างขาดดุลยภาพจนเหลือเกิน ประชาธิปไตยทางการเมืองไม่อาจดำรงอยู่ภายใต้การรวมทรัพย์สมบัติทางเศรษฐกิจอย่างใหญ่โต จนเสรีภาพที่เหลือสำหรับราษฎรมีค่าเท่ากับเสรีภาพอันคลุมเครือที่อดตาย ถ้าจะเสริมประเด็นต่อไปจากอริสโตเติลมุ่งถึง เรายังอาจกล่าวได้ว่า โครงสร้างประชาธิปไตยไม่ใช่เป็นสิ่งเดียวเท่านั้นที่ถูกคุกคามเช่นนั้น จอมเผด็จการที่สำเร็จผลยังได้เรียนรู้ด้วยว่า กำลังสนับสนุนของตนไม่อาจมอบให้อยู่กับขุนนางโจรผู้ละโมบเพียงไม่กี่คนได้อย่างปลอดภัย ในสมัยใหม่ ระบอบประชาธิปไตยใหญ่ๆเป็นประชาธิปไตยชนชั้นกลาง จอมฟาสซิสต์ คือ ฮิตเลอร์และมุสโสลินี แม้เขลาในหลายๆอย่าง แต่ทั้งสองก็เป็นนักการเมืองที่หลักแหลมพอที่จะจูงใจและสร้างฐานกำลังเผด็จการของตนให้อยู่กับชนกฎุมพี สหภาพโซเวียตซึ่งในทางทฤษฏีพยายามกำจัดทำลายกฎุมพี แต่ก็สร้างชนชั้นกลางของตนขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบด้วย นายทหาร ชนวิชาชีพ และข้ารัฐการ และด้วยเหตุนี้จึงสามารถเสริมสร้างโครงสร้าง ซึ่งหาไม่แล้วจำเป็นต้องอาศัยรากฐานส่วนใหญ่อยู่กับการใช้กำลังอันไม่แน่นอนเสถียรภาพในรัฐสืบเนื่องมาจากไมตรีของราษฎรกลุ่มใหม่ (และมีอิทธิพล) ซึ่งมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องในการดำเนินงานปกครอง และซึ่งมีฐานะดีพอที่จะปลอดพ้นจากคำจูงใจของคนที่ต้องการเปลี่ยนแปลง มันไม่จำเป็นต้องอาศัยอัจฉริยภาพที่จะสร้างรัฐเช่นว่านี้ คนเรามีใจนิยมสงวนรักษาพอที่จะยอมรับสภาพการณ์ยากแค้นอย่างหนักได้ ก่อนที่ต้องการให้เปลี่ยนแปลงฐานะที่เป็นอยู่ โดยทั่วไปความพะวงสนใจของรัฐบาลแบบสายกลาง อยู่ที่จำเป็นต้องก่อให้เกิดการสนับสนุนของชนชั้นกลาง บทเรียนยากแก่กี่เรียนรู้ดังที่ประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นเป็นอย่างดี แต่อริสโตเติลเข้าใจดีถึงหลักการ และก็ได้พูดถึงอย่างชัดเจน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น